24 | 09 | 2566
เมนูหลัก
คณะผู้บริหารและสมาชิก
การดำเนินงานของ อบต.
ข้อมูลสำหรับประชาชน
กฎและระเบียบต่างๆ
           กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ทับคล้อ ได้จัดทำโครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แผ่นรองซับการขับถ่าย และผ้าอ้อมทางเลือก ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ โดยรับเงินสนับสนุนจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทับคล้อ ในวันที่ ๒๘-๒๙ ส.ค. ๒๕๖๖ นายสันติ พุ่มมะลิ นายกอบต.ทับคล้อ และ นายวิมล คำแก้ว ปลัด อบต.ทับคล้อ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แจกผ้าอ้อมให้กับผู้ป่วยติดเตียง และบุคคลที่มีภาวะกั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่เพิ่มเติมตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
 
วารสารประจำเดือนสิงหาคม 2566 21
 
 
  ๑๐ ส.ค.๒๕๖๖ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ทับคล้อ จัดโครงการอบรมให้ความรู้และส่งเสริมการลดปริมาณขยะการทิ้งและคัดแยกขยะมูลฝอยในหมู่บ้าน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ โดยนายสันติ พุ่มมะลิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ และ นายวิมล คำแก้ว ปลัด อบต.ทับคล้อ เป็นประธานกล่าวเปิดและเข้าร่วมโครงการ เพื่ออบรมให้ความรู้ประชาชนในการคัดแยกขยะ การกำจัดขยะ การเกิดก๊าซเรือนกระจก ภาวะโลกร้อน และแนวทางการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก ให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการทิ้งขยะ การกำจัดขยะ และการรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครัวเรือนและในชุมชนส่วนรวม และสร้างระเบียบวินัยและปลูกฝังให้เห็นความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม ณ อาคารเอนกประสงค์ หมูที่ ๑ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร *** 
 
  
 วารสารประจำเดือนสิงหาคม 2566 5
 
                 ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๖ นายสันติ พุ่มมะลิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อพร้อมด้วย นายวิมล คำแก้ว ปลัด อบต.ทับคล้อ ร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่๓/๒๕๖๖ เพื่อสรุปรายจ่ายกองทุนฯ ไตรมาส ที่ ๒ และ ๓ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ และคัดเลือกคณะกรรมการแทนตำแหน่งว่าง ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ
 
วารสารประจำเดือนกรกฏาคม 2566 4
 
📢📢📢ประชาสัมพันธ์กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ อบต.ทับคล้อ
 
 
63702
 
 
 
📢📢กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ทับคล้อ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักรู้ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ ตลอดประชาชนทั่วไป เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดรายละเอียดด้านล่างนี้น๊ะค่ะ⬇️⬇️
 
Infographic 3
 
Infographic 2
 
📢📢กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ ประชาสัมพันธ์ เรื่อง สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ให้ประชาชนและเจ้าของรถยนต์รุ่นที่เข้าข่ายต้องเข้ารับการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยที่มีชื่อตามทะเบียนรถยนต์ของกรมการขนส่งทางบกให้เร่งเปลี่ยนถุงลมนิรภัยโดยเร็วเพื่อความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นสำคัญ

วารสารประจำเดือนมิถุนายน 2566 11
วารสารประจำเดือนมิถุนายน 2566 12
 
 
 
 
กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต. ทับคล้อ สนับสนุนเวชภัณฑ์และยาในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้แก่ 11 หมู่บ้าน ประจำปีงบประมาณ 2565
 
วารสารประจำเดือนพฤษภาคม 2566 20
📢📢 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อประชาสัมพันธ์ แบบสำรวจ ข้อมูลตลาดหมู่บ้าน/ชุมชนในเขต  อปท.
 
 Download PDF 02
ssss1865
ssss1965
 
📢📢 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อประชาสัมพันธ์ ความรู้เกี่ยวกับยาและสารเสพติด เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้เด็กและเยาวชนได้มีภูมิคุ้มกันด้านป้องกันและห่างไกล ภัยยาเสพติด สร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้หมดสิ้น ไปจากชุมชน🥰😍
 
Download PDF 01
 
 
messageImage 1685420832799
messageImage 1685420722897
📢📢📢 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหาส่วนตำบลทับคล้อ ประชาสัมพันธ์ แนวทางการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์ เพื่อ ลดภาวะคลอดก่อนกำหนด   ✅เรียนรู้ 💟ร่วมแรง 📢รณรงค์ “ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด

55643

55644

๓๐ มี.ค.๖๖ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ ออกหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สัตว์ควบคุม สุนัขและแมว ในเขตพื้นที่ อบต.ทับคล้อ หมู่ที่๕ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖

วารสารประจำเดือนมีนาคม 2566 15 

                    ๒๑ มี.ค.๒๕๖๖ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ทับคล้อ จัดทำโครงการฝึกอบรมเพื่อสร้างและพีฒนาศักยภาพอาสาปศุสัตว์ด้านโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ฯ โดยนายสันติ พุ่มมะลิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อและนายวิมล คำแก้ว ปลัด อบต.ทับคล้อ เป็นประธานกล่าวเปิดและเข้าร่วมโครงการ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ ตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร   

ssss19  

ประชาสัมพันธ์ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ทับคล้อประชาสัมพันธ์ ขอเชิญชวนประชาชนตำบลทับคล้อทุกครัวเรือน จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน เพื่อเป็นการส่งเสริมการคัดเเยกขยะครัวเรือน ลดการปนเปื้อนขยะเปียกกับของเหลือใช้อื่น ๆ ลดภาระค่าใช้จ่ายโดยการใช้ปุ๋ยหมักที่เกิดจากถังขยะเปียก เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมเเละชุมชนตลอดจนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

jjjj60   

 18/11/2565 กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ ประชาสัมพันธ์เชิญชวน ประชาชน ม.10 ทำถังขยะเปียกภายในครัวเรือน เมื่อพูดถึงประเภทของขยะ "ขยะเปียก" นับเป็นหนึ่งในขยะที่สร้างความรำคาญใจเป็นอย่างมาก เพราะหากจัดการไม่ดี อาจก่อให้เกิดเชื้อโรค และส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ตามมา วันนี้บ้านไหนที่อยากจัดการกับขยะเปียกเจ้าปัญหาให้สิ้นซากเรามีวิธีง่าย ๆ มาฝาก นอกจากจะช่วยกำจัดขยะเปียกแล้ว ยังได้ปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือนอีกด้วย แต่ก่อนอื่นทุกบ้านต้องมีถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกประจำบ้านเสียก่อน ซึ่งมีวิธีการทำง่าย ๆ ดังนี้

1. จัดเตรียมภาชนะหรือเศษวัสดุเหลือใช้ เช่น ถังสี ถังพลาสติกที่ใช้แล้ว ขนาดของภาชนะขึ้นอยู่กับปริมาณขยะเปียกในครัวเรือน (ภาชนะที่ใช้อาจเป็นถังพลาสติกหรือภาชนะอื่นที่มีฝาปิด)
2. เจาะรูหรือตัดภาชนะดังกล่าวที่ก้นถังแล้วขุดหลุมขนาดลึก 2 ใน 3 ส่วน ของความสูงของภาชนะที่เตรียมไว้ไปใส่ในหลุมขุด ทั้งนี้หากมีปริมาณขยะอินทรีย์เกิดขึ้นมากและมีพื้นที่เหลือสามารถทำได้มากกว่า 1 จุด
3. นำเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ใบไม้ และเศษหญ้าที่เหลือมาเทลงในถังที่ฝังไว้ และปิดฝาภาชนะให้มิดชิด
4. จุลินทรีย์ในดิน ใส้เดือนในดินจะทำการย่อยเศษอาหารในภาชนะให้กลายเป็นปุ๋ย (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับปริมาณขยะเปียก) หากมีกลิ่นเหม็นมากสามารถเติมน้ำหมัก EM หรือเอาเศษหญ้าและใบไม้ขนาดเล็กมากลบผิวชั้นบน
5. เมื่อปริมาณเศษอาหารถึงระดับเดียวกับพื้นดินที่ขุดไว้ ให้เอาดินกลบแล้วย้ายถังไปทำตามขั้นตอนเดิมที่จุดอื่นต่อไป

          jjj51

2 พ.ย.65 นายสันติ พุ่มมะลิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อและนายวิมล คำแก้ว ปลัด อบต.ทับคล้อ ร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทับคล้อ เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนการเงิน ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร

jjj40

  20 กันยายน 2565 นายนพรัตน์ ตันหยงทอง รองปลัด อบต.ทับคล้อ และนางสาวศิขรินทร์ สายทน หัวสำนักปลัด อบต.ทับคล้อ ร่วมประชุมคณะอนุกรรมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อพิจารณา กลั่นกรองแผนงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร

jjj33jjj34

jjj35jjj36

 

                    21 กันยายน 2565 นายสันติ พุ่มมะลิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อและนายวิมล คำแก้ว ปลัด อบต.ทับคล้อ ร่วมประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร

aaa1088aaa109

aaa110aaa112

aaa113aaa112

     9 มิ.ย.65 นายสันติ พุ่มมะลิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกพื้นพ่นหมอกควันและพ่นฝอยละอองละเอียด กำจัดยุงลาย โดยร่วมกับ อสม. หมู่ที่ 10 บ้านสายดงยาง ต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร เพื่อกำจัดยุงลายไม่ให้ไปแพร่เชื้อหรือทำการขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก/ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่/ให้ประชาชนได้ตื่นตัวตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก

                         cc11cc12

                         cc13cc14

          7 พ.ย.64 กองสาธารณสุข อบต.ทับคล้อ ออกพื้นที่ซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณะในเขตพื้นที่ บ้านหนองน้ำเต้า หมู่ 4 ต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร

    v12v13
 
           กองสาธารณสุข อบต.ทับคล้อ ได้บริการจัดรับ-ส่งผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา2019 (โควิค19) แต่ไม่สามารถไปได้ด้วยตนเองได้ ณ โรงพยาบาลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร
            v25v26 
            v27v28
 
 
 
 
 
 
 
 
 
                                                 messageImage 1623209430794SS01.jpg
 
 
 
 
 
 ss 02 64
 
 

 22-28 เม.ย.64 กองสาธารณสุข อบต.ทับคล้อ ได้ออกพื้นที่ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สัตว์ควบคุม(สุนัข-แมว)ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากพิษสุนัขบ้า ฯ ประจำปี 2564

         uu11uu12

        uu13uu14

 

9 พ.ย.63 กองสาธารณสุข ออกพื้นที่ซ่อมแซมไฟฟ้าริมทางหมู่บ้านในเขตพื้นที่ อบต.ทับคล้อ

                           ฟฟ222 

                          ฟฟ11 

 

    ฟฟ33

ฟฟ77

           ผลการสำรวจสภาพปัญหาน้ำเสีย และฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล   ทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ประจำปีงบประมาณ 2563

waste7540503waste7540502

              2 มีนาคม 2562 โครงการอบรมประชาชนและเยาวชน เรื่อง การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ครั้งที่ 1 โรงเรียนวัดป่าไรไร

l12

l14

l13วันที่ 17 สิงหาคม 2561 นายเสถียร เบ้าคำ นายก อบต.ทับคล้อ เป็นประธานเปิดประชุมการตรวจประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทับคล้อ ประจำปี 2561

kkk1

kkk2kkk3

  

สารประชาสัมพันธ์ 


สาระน่ารู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่เด็กและเยาวชนควรรู้

ปัจจุบันในแต่ละปีมีสถิติการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่ดำเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัวทั่วประเทศเพิ่มขึ้นมาก จึงน่าเป็นห่วงเด็ก ( บุคคลที่มีอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ ) และเยาวชน ( บุคคลที่มีอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ) ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติเป็นอย่างยิ่ง จึงสมควรที่จะศึกษาเพื่อให้รู้จักยาเสพติดให้โทษ สาเหตุของการติดยาเสพติด โทษของยาเสพติดให้โทษ และการป้องกันมิให้ตนเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษต่อไป หาไม่แล้ว ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษก็อาจจะกระทำความผิดอื่นที่ต่อเนื่อง เช่น ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันเป็นปัญหาเดือดร้อนรำคาญและเป็นอาชญากรรมร้ายแรงมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ความหมายของยาเสพติดให้โทษ 

ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมีหรือวัตถุใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อย ๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย 


ประเภทของยาเสพติดให้โทษตามกฎหมาย แบ่งเป็น 5 ประเภทด้วยกัน คือ
  • ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่นเฮโรอีน เมทแอมเฟตามีน
  • ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน โคเคอีน ฝิ่น
  • ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย
  • ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ อาเซติลคลอไรด์
  • ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม

สาเหตุของการติดยาเสพติดให้โทษ 

สาเหตุของการติดยาเสพติดให้โทษมีหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่

  1. เพื่อนชักชวนหรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน
  2. อยากรู้ อยากทดลอง
  3. ถูกหลอกเพื่อผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เพื่อให้จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ เพื่อใช้แรงงาน เพื่อค้าประเวณี
  4. มีความเชื่อในทางที่ผิดว่ายาเสพติดให้โทษบางประเภทอาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ ช่วยให้ทำงานได้มากกว่าปกติ
  5. ขาดความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
  6. สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการติดยาเสพติดให้โทษ บริเวณถิ่นที่อยู่อาศัยมีการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษหรือมีผู้ติดยาเสพติดให้โทษ
  7. เพื่อหนีปัญหาในบางปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขให้กับตนเองได้

โทษของยาเสพติดให้โทษ 

การเสพยาเสพติดให้โทษโดยเฉพาะเมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้าซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นปัญหาร้ายแรงในสังคมนั้น นอกจากจะเป็นความผิดซึ่งผู้เสพ จำหน่ายหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งมีโทษขั้นร้ายแรง ตั้งแต่ประหารชีวิต จำคุก หรือปรับแล้ว ยังเป็นโทษต่อร่างกายและจิตใจด้วย สำหรับผลเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ร่างกายและจิตใจได้แก่ ผู้เสพยาเสพติดจะมีอาการปวดศีรษะ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นแรงและเร็ว ร่างกายทรุดโทรม ในรายที่เสพยาเสพติดในปริมาณมากอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตกเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ นอกจากนี้แล้วการเสพยาเสพติดให้โทษอาจส่งผลให้เป็นโรคจิตควบคุมตัวเองไม่ได้ หูแว่ว ประสาทหลอน หวาดระแวงว่าจะมีคนมาทำร้าย จึงมักจะจับผู้อื่นเป็นตัวประกันหรือทำร้ายคนอื่นเพื่อให้ตนเองรู้สึกปลอดภัย หรืออาจทำร้ายตัวเองได้ และยาเสพติดเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งถ้าเกิดเหตุกรณีดังกล่าวขึ้น ผู้เสพยาเสพติดก็มีโอกาสได้รับโทษทางอาญาเนื่องจากการกระทำผิดต่อเนื่องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในเรื่องนั้น ๆ อีกด้วย เช่น การขับรถขณะมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายก็จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 การป้องกันยาเสพติดให้โทษ สามารถป้องกันได้ 3 ทางด้วยกัน คือ

  1. การป้องกันโดยตนเอง ด้วยการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ไม่ทดลองใช้ยาเสพติด ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เช่นออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ไม่คบค้าสมาคมกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หากมีปัญหาควรปรึกษาบิดามารดา ญาติหรือครูอาจารย์ 
     
  2. การป้องกันโดยครอบครัว บุคคลภายในครอบครัวต้องร่วมกันสร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในครอบครัว และดูแลสมาชิกภายในครอบครัวไม่ให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวคนใดเสพยาเสพติดให้โทษแล้ว ต้องให้กำลังใจและร่วมกันหาทางรักษา 
     
  3. การป้องกันโดยสังคม สมาชิกภายในสังคมนั้น มีหน้าที่ศึกษาและทำความรู้จักชุมชนของตนเอง มีการหาแนวร่วมเพื่อเชื่อมโยงและขยายเครือข่ายระหว่างชุมชนเพื่อตั้งกลุ่มร่วมกันป้องกันและต่อต้านยาเสพติดให้โทษ เมื่อพบคนในสังคมติดยาเสพติดให้โทษก็ชักชวนหรือช่วยเหลือให้บุคคลนั้นเข้ารับการบำบัดรักษา และเมื่อทราบแหล่งซึ่งเป็นที่เสพ จำหน่าย หรือผลิตยาเสพติดให้โทษให้รีบเจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบเพื่อดำเนินการจับกุมตามกฎหมายโดยทันที

 ที่มา:http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/drugs_children_young/index.html